เมล็ดงาและน้ำมันงา
มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า มีการปลูกงามาตั้งแต่ยุตหรัปปันซึ่งเป็น หนึ่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในแถบลุ่มแม่น้ำสินุเมื่อราวสองพันปีก่อนคริสตกาล
ชาวฮินดูเชื่อว่าเมล็ดงาเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ และมหาศรีเทวีซึ่ง เป็นชายาของพระวิษณุเป็นตัวแทนของคุณสมบัติของเมล็ดงา ด้วยเหตุผลนี้จึงถือ กันว่าน้ำมันงาเป็นน้ำมันที่เป็นมงคลที่สุดรองจาก “ฆี” (ghee) หรือเนยไส และถูกใช้ในพิธีกรรมและการสวดต่างๆ
คัมภีร์อายุเวทกล่าวถึงเมล็ดงาว่า มีรสขม ฝาด หวาน เผ็ดร้อน ย่อย ยาก ชุมชื้น มีคุณสมบัติร้อน บำรุงกำลัง บำรุงผม บำรุงน้ำนม ดีต่อผิว หนัง ทำให้ฟันแข็งแรง และในบรรดาเมล็ดงา 5 ชนิด ซึ่งได้แก่ งาดำ งาขาว งาแดง งาป่า และงาเมล็ดเล็ก งาดำจัดว่า เป็นเลิศที่สุด โดยนอก
จากสรรพคุณที่กล่าวมาแล้ว งาดำ งาขาว งาแดง ง่าป่า และ งาเมล็ดเล็ก งาดำจัดว่าเป็นเลิศที่สุด โดยนอกจากสรรพคุณที่กล่าวแล้ว งา ดำยังมีสรรพคุณบำรุงอสุจิอีกด้วย
อาจเป็นด้วยประโยชน์และสรรพคุณมากหลายของเมล็ดงา ทำให้มีการใช้งาเป็นส่วน ผสมในอาหารและทำเป็นขนมหลากหลายชนิดในวัฒนธรรมต่างๆ เกือบทั่ว โลก เช่น ตะวันออกกลาง ตะวันออกไกล เอเชียตะวันออก จีน ญี่ปุ่น รวม ทั่งในอินเดียซึ่งนอกจากเป็นส่วนผสมในอาหารและทำเป็นขนมชนิด ต่างๆ แล้ว ยังใช้ในพิธีกรรมสักการะบุชามาแต่โบราณอีกด้วย
สตรีแห่งบาบิลอนในยุคโบราณรับประทานหัลวา (halva) ซึ่งทำมาจากน้ำผึ้งและเมล็ดงาเพื่อให้อ่อนเยาว์และเพื่อความสวยงาม ในขณะ ที่ทหารโรมันบริโภคเพื่อบำรุงและเสริมสร้างพลัง
คัมภีร์การแพทย์ของชาวทมิฬกล่าวถึงน้ำมันงาว่าเป็น “น้ำมันที่เป็น เลิศ” โดยมีโศลกซึ่งมีความหมายว่า “ใช้เพื่อบำรุงสำหรับผู้ที่ผ่ายผอม และใช้ทาเพื่อลดความอ้วนสำหรับผู้ที่ น้ำหนักเกิน”
คัมภีร์อายุรเวทแนะนำว่าการอมน้ำมันงา จะช่วยให้ฟัน เหงือก และขากรรไกร แข็งแรงบำรุงเสียงและขจัดรอยเหี่ยวย่นบนแก้ม โดยอมน้ำมันงาอุ่นๆ ไว้ในปาก สักครู่ และกลั้วไปมาแรงๆ ก่อนจะบ้วนทิ้ง
ขอขอบคุณ ที่มา : นิตยสาร Yoga Journal