เปลี่ยนศัตรูเป็นมิตร = เปลี่ยนยาพิษเป็นยาบำรุง
คนที่เดินเข้ามาในชีวิตเรามีกมาพร้อมกระจกบ้านเล็กๆ บานหนึ่งที่ส่องให้ เห็นตัวเราเองแวบๆ อาจเป็นความชอบหรือไม่ชอบบางอย่างในตัวเขา ความรู้สึก ที่เกิดขึ้นนี้คือสิ่งที่คนนั้นกำลังเดินเข้ามาบอกว่า “นี่ล่ะตัวคุณ” เพียงแต่คนเรามักทุบกระจกบานนี้แตกก่อนที่จะได้เรียนรู้
Dr.Hal และ Dr.Sidra Stone นักจิตวิทยาผู้ค้นคว้าเรื่อง “Voice Dialogue” หรือสุนทรีสนทนา กล่าวว่า คนเรามันมีตัวตนที่เราอาจจะเคยหรืออยาก เป็น แต่เราไม่เลือกที่จะเป็น หรือไม่สามารถเป็นเช่นนั้นได้ เมื่อ
คุณสมบัติเช่นนี้ไปตกอยู่กับใครสักคนที่โคจรมาก็จะเกิดการเขย่าหัวใจกันให้สั่นไหว
นิสัยเสียที่คุณรับไม่ได้ นิสัยเสียคุณอยากให้เป็น ข้อดีของนิสัยนั้น ข้อเสียของการมีนิสัยที่คุณอยากให้เป็นมากเกินไป
ฉันไม่ชอบคนพูดมาก อยากให้พูดน้อยไม่นินทาหน่อยและใคร พูดมาทำให้เรารู้จักความคิดของเขา เขาเป็นคนเปิดเผยการพูดถึงคนอื่นบ้างเป็นการมีมนุษย์สัมพันธ์อย่างหนึ่ง ถ้าเขาไม่พูดเลยเราคงไม่รู้ว่าเขาคิดอะไร คงดุเครียดๆ และเข้าใจเขายาก
เราอาจรับไม่ได้ รังเกียจ เกิดความรู้สึกขัดแย้งกับคนนั้น เพราะสิ่งที่ เขามีคือสิ่งที่เราขาด หรือไม่แน่ อาจเป็นสิ่งที่เราอยากมี แต่ไม่อาจมี ได้ เช่น คุณนายระเบียบได้รับการเลี้ยงดูโดยครอบครัวที่เข้มงวด แม้จะไม่ แฮ็ปปี้กับ ความตึงเครียดที่ต้องเป๊ะทุกอย่าง แต่เธอก็ไม่กล้าจะเป็นคนเหลวไหลในสายตา ของพ่อแม่เมื่อมีคุณชายระเบียบผ่านเข้ามา เธอจึงรับไม่ได้ ซึ่งจริงๆแล้ว บางครั้งเธอก็อยากผ่อนคลายไร้ระเบียบบ้าง แต่ไม่กล้าฉีกนอกกรอบเดิมๆ
คุณอาจลองค้นคว้าหามุมที่ไม่เคยมอง โดยหาที่นั่งสบายๆเตรียมกระดาษ ปากกา แบ่งกระดาษเป็น 4 ช่อง ช่องที่ 1 ลองลิสต์นิสัยเสียที่คุณรับไม่ได้ ช่องที่ 2 ลองจดว่า นิสัยอะไรที่คุณอยากให้เป็น ช่องที่ 3 ลองพิจารณาดูข้อดีของนิสัยขอเสียนั้น ช่องที่ 4 หาข้อเสียของการมีนิสัยในช่องที่ 2 (นิสัยที่คุณอยากให้เป็น) มากเกินไป
การที่เราไม่ชอบใครสักคนกลับมีมุมที่เราไม่เคยมอง แต่สะท้อนบางสิ่งที่เรา ขาดไปได้เหมือนกัน เมื่อใจเราเปิดกว้างพอที่จะรับใครในขั้วตรงข้ามเข้ามา นั่งในใจแล้ว ลองค้นหาและทำความเข้าใจดูว่าเขาต้องการอะไร เขาเองก็มีความ ต้องการไม่ต่างจากที่เรามีและคงต้องการได้รับการตอบสนองด้วย
หากเราตั้งจิตแล้วค้นพบความต้องการของตัวเองก่อนคงไม่ยากที่จะค้นหาความต้องการของเขาด้วยเช่นกัน
บนเส้นทางแห่งความขัดแย้ง เราสามารถ “สื่อสารอย่างสันติ” เริ่มจากการฟังอย่างลึกซึ่งโดยปราศจากการวิพากษ์ วิจารณ์พยายามทำความเข้าใจความต้องการทั้งของเราและเขาแล้วสื่อสารออกมา มี 14 ขั้นตอน ดังนี้
1. สังเกต แล้วบอกเล่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
2. บอกความรู้สึก ของตัวคุณเองอย่างจริงใจตรงไปตรงมา
3. บอกความต้องการ ตรงประเด็นว่าคุณอยากให้เขาทำอะไร
4. ร้องขอ เรียก ร้องให้เกิดการลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรมเช่น คุณไม่พอใจที่เพื่อนร่วมงานมัก จะลืมบอกกำหนดการนัดประชุมกับค้า ทำให้คุณรู้ล่วงหน้าไม่นาน
คำพูดที่ไม่ก่อให้เกิดสันติ : “ทำไมคุณไม่ยอมบอกผมล่วงหน้าสักทีคุณขี้ลืมอย่างนี้ทำผมเสียหายแค่ไหนเคยรู้บ้างไหม ผมเตรียมตัวไม่ทัน ลูกค้าด่าผมตายเลย”
สื่อสารอย่างสันติ : “ผมสังเกตว่าในการประชุมกับลูกค้าสองสามครั้งหลังนี้ คุณมักจะลืมบางผมล่วง หน้า (สังเกต) ผมรู้สึกอึกอัดมากเลยที่ต้องเตรียมตัวกะทันหัน (ความรู้สึก) ผมอยากให้คุณให้ความสำคัญกับเรื่องนี้สักหน่อยนะครับ (ต้องการ) คราวหน้ากรุณาบอกผมล่วงหน้าสักสองสามวันด้วยนะครับ (ร้องขอ)”
ในกฎแหงความเปลี่ยนแปลง ไม่มีมิตรแท้และสัตรูถาวรเมื่ออคติผ่านพ้นไป ในใจ คุณเปิดกว้างขึ้น คุณอภัยได้แม้คนที่ไม่น่าอภัย คบได้แม้คนที่ไม่น่า คบ โลกคุณจะเบาสบายขึ้นเมื่อมีมิตรมาแทนที่ศัตรู และแม้แต่ศัตรูที่เคย เป็นยาพิษก็กลายเป็นครูผู้ชี้แนะให้คุณเห็นตัวเอง นี่คือยาบำรุงที่เป็นภู มิคั้มกันในที่แท้จริง
ที่มา : นิตยสาร SHAPE